บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2017

ต้นจามจุรี

รูปภาพ
ต้นจามจุรี  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Samanca Saman (Jacq) Merr. ชื่อ วงศ์    : Leguminosae-Minosoideae ชื่ออื่นๆ : ต้นฉำฉา/สำสา หรือ ต้นก้ามปู        ต้นจามจุรี เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงาจากเรือนยอดที่แผ่กว้าง การให้เนื้อไม้สำหรับทำเครื่องเรือนเนื่องจากมีลวดลายสวย และการปลูกเพื่อเลี้ยงครั่งเป็นหลัก ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ราก และลำต้น        รากจามจุรีมีระบบเป็นรากแก้ว และแตกรากแขนงออกด้านข้าง รากแขนงมักแทงออกตามแนวนอนขนานกับผิวดินในระดับตื้นที่อาจยาวได้มากกว่า 10 เมตร เพื่อเป็นฐานพยุงลำต้นที่มีลักษณะทรงพุ่มกว้างใหญ่  ลำต้นมี ลักษณะค่อนข้างกลม ไม่สมมาตร แตกกิ่งในระดับต่ำประมาณ 3-5 เมตร กิ่งประกอบด้วยกิ่งหลัก และกิ่งแขนง เปลือกลำต้นของต้นอ่อนมีสีขาวเทา เมื่อต้นแก่จะมีสีดำเป็นแผ่นสะเก็ด กิ่งอ่อนมีสีขาวเทา กิ่งแก่มีสีน้ำตาล ใบ        ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก โคนใบเล็ก ปลายใบมนกว้าง ป

ต้นสะเดา

รูปภาพ
ต้นสะเดา  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A.Juss. ชื่อวงศ์   :   MELIACEAE ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ  : สะเดา สะเดาบ้าน, สะเลียม, เดา กระเดา กะเดา, จะดัง จะตัง, ผักสะเลม, ลำต๋าว,                              สะเรียม, ตะหม่าเหมาะ, ควินิน, สะเดาอินเดีย, กาเดา, เดา, ไม้เดา ชนิดของสะเดา สะเดา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดได้แก่ สะเดาไทย (สะเดาบ้าน) ลักษณะของใบหยักเป็นฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยทู่ โคนใบเบี้ยวแต่กว้างกว่า ปลายใบแหลม โดยสะเดาไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดขมและชนิดมัน โดยจะสังเกตได้จากยอดอ่อน หากเป็นชนิดขมยอดอ่อนจะมีสีแดง แต่ถ้าเป็นชนิดมันยอดอ่อนจะมีสีขาว สะเดาอินเดีย ลักษณะของใบ ขอบใบเป็นหยักคล้ายฟันเลื่อย ปลายของฟันเลื่อยแหลม ปลายใบมีลักษณะแหลมเรียวแคบมาก ส่วนโคนใบเบี้ยว สะเดาช้าง (สะเดาเทียม) (Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs) ชนิดนี้ลักษณะขอบใบจะเรียบหรือปัดขึ้นลงเล็กน้อย ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขนาดของใบและผลจะใหญ่กว่า 2 ชนิดแรก          โดยต้นสะเดาไทยและสะเดาอินเดียจะเป็นชนิดเดียวกันแต่ต่างสายพันธุ์ ส่วนสะเดาช้างจะจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับสะเดาไทยและสะเดา

ต้นประดู่

รูปภาพ
ต้น ประดู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd. วงศ์ : Fabaceae ชื่อสามัญ : Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood,                  Andaman Redwood, Amboyna Wood, Indian rosewood ชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ : ดู่บ้าน, ประดู่บ้าน ประดู่ลาย ประดู่กิ่งอ่อน อังสนา, สะโน, ดู่, ประดู่ป่า, ประดู่ไทย ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นประดู่        เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย และอยู่ในแถบอันดามัน มัทราช เบงกอล ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ต้นประดู่จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 20-25 เมตร หรืออาจสูงกว่า จะผลัดใบก่อนการออกดอก แตกกิ่งก้านเป็นทรงพุ่มกว้าง และปลายกิ่งห้อยลง เปลือกลำต้นหนาเป็นสีน้ำตาลเทา แตกหยาบ ๆ เป็นร่องลึก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ต้องการน้ำปานกลาง เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ สามารถปลูกได้ทั่วไป ใบประดู่        ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกรวมกันเป็นช่อ ๆ ใบออกเรียงสลับ แต่ละช่อจะม

ต้นคริสติน่า

รูปภาพ
ต้นคริสติน่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium australe ( J.C. Wendl. Ex Link ) B.Hyland ชื่อวงศ์  :   Myrtaceae   ต้นคริสติน่า ลักษณะทั่วไปของไม้ชนิดนี้ เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดกลาง ชอบอยู่กลางแจ้งเมื่อโตเต็มที่สามารถสูงได้ 9-10 เมตร ใบเดี่ยวปลายใบเรียวแหลม เวลาใบอ่อนแตกออกมาใหม่จะมีสีแดงเป็นมันสวยงามมาก เป็นพันธ์ไม้ที่ชอบแดด เลี้ยงง่าย โตเร็ว นิยมเอามาปลูกเป็นแนวตามรั้วบ้าน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์        เป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 2-5 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปใบ หอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ใบอ่อนสีแดงเป็นมัน ช่อดอกเป็นช่อกระจุกออกที่ ปลายยอด ดอกสีขาว ออกดอกในเดือนมกราคมถึงมีนาคม รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลยาวรี สีแดงคล้ายชมพู่ ยาว 2 เซนติเมตร สภาพปลูก เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางหรือปลูกเป็นกลุ่ม แต่ควรตัดแต่ง ทรงพุ่มบ่อยๆ เพื่อให้ต้นแตกยอดอ่อนสีแดง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปักชำ วิธีปลูก ต้นคริสติน่า        ลักษณะที่เห็นปลูกๆกันทั่วไปก็คือ การนำมาปลูกเป็นแปลงยาวต่อเนื่องกันไปแล้วตัดแต่งเป็นทรงพุ่ม อาจจะ แต่งเป็นพุ่มเ

ต้นตาล

รูปภาพ
ต้นตาล วิทยาศาสตร์ : Borassus flabellifer L. ชื่อ ชื่อ วงศ์    :  Palmae ชื่อสามัญ : Asian palmyra palm, Palmyra palm, Brab palm, Doub palm, Fan palm, Lontar palm,                    Toddy palm, Tala palm, Wine palm ชื่อท้องถิ่น : ตาลนา ปลีตาล, ตาล ตาลใหญ่ ตาลโตนด, โหนด ลูกโนด, ถาล, ถาน, ทอถู, ท้าง,                     ตะนอด , ทะเนาด์         ต้นตาล จัดเป็นพืชดั้งเดิมของทวีปแอฟริกา และภายหลังได้ขยายแพร่พันธุ์ไปเรื่อย ๆ จนมีอยู่ทั่วไปในเอเชียเขตร้อนรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งพบทั่วไปในทุกภาคของประเทศ และสามารถพบได้มากในภาคตะวันตก ในจังหวัดเพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และนครปฐม ประโยชน์ของต้นตาล        หลัก ๆ แล้วจะนิยมนำมาใช้ประกอบอาหารและใช้ในงานหัตถกรรมต่าง ๆ และอาจมีการนำไปใช้ทางยาสมุนไพรบ้าง โดยต้นตาลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่         ตาลบ้าน เป็นตาลที่มีจำนวนของเต้าจาวในแต่ละผลประมาณ 1-4 เต้า และยังมีสายพันธุ์ย่อยอีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ตาลหม้อ (ผลใหญ่ ผิวดำคล้ำ), ตาลไข่ (ผลเล็กกว่า ผลมีสีขาวเหลือง), และตาลจาก (มีผลในทะลายแน่นคล้ายกับทะ

ต้นปาล์มขวด

รูปภาพ
ต้นปาล์มขวด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Roystonea regia (HBK.)Cook. ชื่อวงศ์ : PALMAE ชื่อสามัญ : Royal plam, Cuban Royal plam ถิ่นกำเนิด : คิวบา (ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศคิวบา) ลักษณะวิสัย : ปาล์ม การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด เพราะว่าปาล์มขวดไม่มีหน่อ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์        ตอนที่ยังเล็กอยู่ จะป่อง พองออกบริเวณโคนต้น แต่พอโตขึ้น อาการป่องพองนี้จะไปเกิดที่กลางลำต้น เมื่อโตเต็มที่ ลำต้นสูงประมาณ 50-70 ฟุต ออกช่อสีขาวนวลใต้คอ ช่อใหญ่แผ่กระจายยาว ติดผลจำนวนมาก กิ่งก้าน - ใบยาว 6-10 ฟุต ทางใบสั้น ใบย่อยจะงอกจากแกนกลาง ใบเป็น 4 แถวมีกาบใบสีเขียวเรียบเป็นมัน ห่อลำต้นไว้แลดูงดงามตายิ่งนัก จึงเห็นพวงใหญ่ ออกช่อดอกสีขาวนวลใต้คอ ช่อใหญ่แผ่กระจายยาว ติดผลจำนวนมาก ประโยชน์ของต้นปาล์มขวด        ปาล์มขวดเป็นปาล์มประดับที่ต้องการแสงแดดจัด นิยมปลูกกลางแจ้ง เช่น สวนสาธารณะ ริมทางเดิน ถนนริมทะเล ไม่นิยมปลูกในสนามเด็กเล่นหรือใกล้บ้านเพราะใบใหญ่ เมื่อร่วงลงมาอาจทำอันตรายต่อคนหรือสิ่งของ และรากอาจทำลายโครงสร้างสิ่งก่อสร้างได้ ยอดอ่อนของปาล์มขวดนำมารับประทานได้คล้ายยอดมะพร